Tuesday, November 3, 2015

King Lier

กษัตริย์เลียร์ (KING LEAR)
เป็นบทละครกึ่งเศร้ากึ่งขบขันที่โด่งดังอีกเรื่องหนึ่งของเช็คสเปียร์ ถึงกับมีผู้ให้ความเห็นว่าเป็นบทละครที่ดีที่สุดของเช็คสเปียร์ เป็นการเสนอแง่มุมความคิดที่ซับซ้อนและกินความหมายกว้าง และเช็คสเปียร์ ก็ให้ความสนใจกับพฤติกรรมของตัวละครมากกว่าที่จะเล่าเนื้อหาของเรื่อง ทุกบรรทัดที่ต่อเนื่องกันจะบรรยายถึงความญเหตุการณ์ซึ่งกระทบกระเทือนจิตใจมากที่สุดในชีวิต และในกรณีของกษัตริย์เหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้กษัตริย์เลียร์ทรงเสียพระสติโดยสะท้อนออกมาในลักษณะความคิด ข้อสงสัย ทัศนคติ หรือบุคลิกของตัวละคร ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปโดยลำดับเป็นขั้นตอนแทบไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นผู้ที่ได้อ่านจึงทำความเข้าใจได้ :- คำพูดที่เด่นที่กำตริย์เลียร์พูดกับคอร์เดเลียเมื่อทั้งสองพระองค์ถุกจับ .เราสองคนต้องกลายเป็นนักโทษไปแล้ว เราจะร้องเพลงด้วยกันเหมือนนกที่อยู่ในกรง ยามที่เขาต้องการให้เราสวดมนต์ภาวนา ข้าฯก็จะคุกเข่าลง และร้องขอความเมตตาจากพวกเขา.
                คำพูดที่เด่นที่กำตริย์เลียร์พูดกับคอร์เดเลียเมื่อขณะกำลังกอดร่างที่ไร้ชีวิตขององค์หญิง
“……….โอ้ชีวิต
...ทำไมสรรพสัตว์
ล้วนมีชีวิตคงอยู่ได้

แต่เจ้ากลับไม่หายใจ 
เราคงต้องจดจำอิทธิพลของความทุกข์โทมนัสที่เกิดนี้ไว้เสมอ
ไม่ควรพุดในสิ่งที่เป็นความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง
ตัวละครสำคัญ
กษัตริย์เลียร์ (KING LEAR)
เขาคือกษัตริย์ผู้ชราผู้ได้แบ่งดินแดนยกให้พระธิดาสองพระองค์ และเก็บส่วนที่3 ไว้ให้กับพระธิดาองค์ที่ทรงโปรดที่สุด จนกว่าเธอจะยอมพูดว่า เธอรักพระองค์มากกว่าผู้อื่น
CORDELLIA คอร์เดเลีย-ธิดาของกษัตริย์เลียร์ถูกลงโทษเพราะความซื่อโดยยอมรับว่าเอรักพระสวามีเท่าๆกับพระบิดาของตนเอง

GONERIL & REGAN  ธิดาที่ร้ายกาจทั้งสองพระองค์ของกษัตริย์เลียร์ ซึ่งยอมกล่าวออกมาว่ารักพระบิดา แต่แล้วในที่สุดก็ทิ้งพระองคืไป


GLOUCESTER- ข้าราชสำนักซึ่งถูกหลอกลวงให้หลงเข้าใจผิดไปว่าบุตรชายคนโตของเขาวางแผนจะฆ่าเขา แต่ในที่สุดก็รู้ว่าคนที่หลอกลวงก็คือเรแกนและสวามีของเธอเอง

EDGGAR- บุตรชายคนโตของ GLOUCESTER ซึ่งแกล้งทำตัวเป็นคนบ้าและวิ่งหนีไปเมื่อบิดาของเขาหลงผิดโดยคิดว่าเขาไม่ได้รักบิดาอีกต่อไป

EDMUND – บุตรชายคนเล็กเป็นลูกนอกสมรสของ กลูเชสเตอร์ ได้พูดเกลี้ยกล่อมให้บิดาไม่ไว้ใจเอ็ดการ์ เอ็ดมันต์เป้นคนไร้ศิลธรรม แต่สุดท้ายเขาได้สร้างความดีโดยพยายามป้องกันไม่ให้กษัตริย์เลียร์แลเคลอเดเลียถุกประหารชีวิต

KENT – สหายที่จงรักภักดีของกษัตริย์เลียร์ซึ่งอยู่เคียงข้างพระองค์มาดดยตลอด และเป้นตัวกลางติดต่อกับคลอเดเลียหลังจากที่เธอถุกเนรเทศไป

THE FOOL-เป็นตัวตลกเพียงคนเดียวที่สามารถวิจารณ์กษัตริย์เลียร์ได้ และมีบทบาทที่ฉลาดมีไหวพริบมากที่สุด

เช็คสเปียร์ได้แต่งบทละครแนวประวัติศาสตร์ แนวตลกขบขัน บทละครเศร้ารันทด บทละครกึ่งเศร้ากึ่งขบขัน และบทละครคลาสิก เช่นจูเลียต ซีซ่าร์ และหลายๆเรื่องที่เขานำมาแต่งเป้นบทละครนั้นไม่ใช่เรื่องที่เขาแต่งขึ้นเองและเขาก้ไม่เคยอ้างสิทธิ์เช่นนั้นด้วย แต่เป้นวิธีการนำเอาเรื่องเก่ามาเล่าให้ฟังใหม่เท่านั้น
บทสรุป
เช็คสเปียร์ มีแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและนำมาใช้เป็นพล็อต ของบทละครเรื่องต่างๆเช่น จาก บทละครคลาสสิก บันทึกของนักประวัติศาสตร์ และเรื่องที่แต่งขึ้นโดยนักเขียนทั่วไป
                ไม่มีหลักฐานว่าเช็คสเปีนร์ได้แต่งเรื่องทั้งหมดเหล่านั้นตั้งแต่เมื่อใด ได้แต่เพียงเทียบเคียงช่วงเวลาเท่านั้น บทละครแนวประวัติศาสตร์และแนวขบขันส่วนใหญ่จะแต่งขึ้นในครึ่งแรกของช่วงชีวิตการทำงานของเช็คสเปียร์ ต่อมาภายหลังจึงแต่งบทละครประเภทเศร้ารันทด
                บทละครต้นฉบับที่แท้จริงของเช็คสเปียร์น่าจะเป็นขึ้นมาเป็นครั้งแรกแบบ folio หนังสือขนาดใหญ่ ซึ่งพิมพ์ขึ้นหลังจากที่เช็คสเปียร์ตายไปแล้วถึง 7 ปี และไม่มีหลักฐานว่าการพิมพ์แบบ Quato มักเป็นการซึ่งพิมพ์บทละครเรื่องเดียวปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มเล้ก บทละครที่พิมพ์แบบนี้มีทั้งสิ้น 18 เรื่องและพิมพ์ในช่วงที่เช็คสเปียร์ยังมีชีวิตอยู่ โดยไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าผู้จัดพิมพ์ได้บทละครนั้นมาอย่างไร และที่ทราบแน่ชัดว่าถูกขโมยไปก็คือ แฮมเล็ต โรมิโอกับจูเลียต กษัตริย์เฮนรี่ที่ 5 และ The merry wives of Windsor เรื่องอื่นๆบางเรื่องก็ไม่ได้พิมพ์จากต้นฉบับที่ถูกต้อง และบางเรื่องก็ค่อนข้างจะใกล้เคียงแต่บางเรื่องเมื่อเปรียบเทียบกับ folio ที่พิม์ขึ้นก่อน บางทีก็มีต้นฉบับหลายversion เช่นแฮมเล็ตในค.ศ. 1603 ต้นฉบับถุกขโมยไปอีกปีต่อมาน่าจะเป็นไปได้ว่าจากต้นฉบับของ เช็คสเปียร์ เองและต่อมาก็มีการพิมพ์ละครเรื่องแฮมเล็ต แบบ folioเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1623 ผู้ที่จัดพิมพ์ในระยะต่อมา โดยเฉพาะในช่วงระยะที่ 18-19 ได้เปลี่ยนแปลงเครื่องหมายวรรคตอนจากต้นฉบับ และเพิ่มฉากแทรกเข้าไปเพื่อแบ่งเป็นตอนๆทำให้เข้าใจง่ายขึ้นข้อเท็จจริง
เช็คสเปียร์ต้องแต่งบทละครให้เหมาะสมกับผู้แสดงที่เป็นตัวละครนั้นๆ ถ้าหากบทไม่เหมาะสมก็จะเป้นเรื่องยุ่งยากในการแสดง ดังนั้นจึงเหมือนการบอกให้เรารู้นิสสัยบางอย่างเกี่ยวกับเพื่อนนักแสดงของเช็คสเปียร์ด้วย ในปี 1600 วิลเคมพ์นักแสดงตลกที่พักอยุ่ด้วยกันกับเช็คสเปียร์ เขาแสดงเป็น    ปีเตอร์เพื่อนชายของนางพยาบาลในเรื่องโรมิโอกับจูเลียต ได้ลาออกจากคณะละคร และได้ผู้แสดงคนใหม่มาแทนคือ โรเบิร์ต อาร์มิน ซึ่งแสดงให้คนดูตลกขบขันมากกว่า วิลเคมพ์ เช็คสเปียร์ได้ เขียนบท ทัชสโตนในเรื่องตามใจท่าน และบทของ เฟสต์ในเรื่อง Twelth Night  และบทตัวตลกในเรื่อง KING LEAR  ให้อาร์มินแสดง เป็นต้น


เวนิสวาณิช (The merchant of Venice)
          ไชล็อกเป็นชาวยิว ซึ่ไม่ได้เป็นตัวแทนของความร้ายกาจแต่อย่างใดแต่ถุกกำหนดบทบาทให้เป็นผู้ชายที่ทุกคนรังเกียจชิงชังเพราะความที่เขาเป้นชาวยิวทำให้เขาเกิดความรู้สึกขมขื่นใจ จนทำให้ศตรูของเขาวาดภาพให้เขากลายเป็นคนที่โหดร้ายและไม่มีน้ำใจ แต่ในขณะที่เจสสิกาผู้ซึ่งเป้นลุกสาวของไชล็อก เป้นชาวยิวเช่นกันแต่กลับมีน้ำใจโอบอ้อมอารี ลูกสาวของไชล๊อก ซึ่งภายหลังได้หนีตาม Lorenzo ไป พร้อมกับนำหีบสมบัติที่มีทั้งเงินและเพชรนิลจินดาของบิดาไปด้วย
                ปอร์เตีย – หญิงสาวที่สวยและร่ำรวย ซึ่งบิดาของเธอหมายมั่นว่าเธอจะต้องแต่งงานกับผู้ชายที่สามารถไขปริศนาจากหีบเหล็ก 3 ใบที่ได้เตรียมไว้แล้ว โดยจะต้องเลือกหีบใบที่ถูกต้อง
นางปอร์เตียร้องขอความเมตตา
อันความกรูณาปรานีจะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฟ้าฝนอันชื่นใจ
เปรียบดั่งน้ำฝนอันชื่นใจ
หลั่งมาเองจากฟากฟ้าสุลาลัยสู่แดนดิน
                บาสซานิโอ สุภาพบุรุษซึ่งกำลังอยู่ในช่วงขอความรักจากนางเปอร์เซีย
ไชล็อกเป็นชาวยิวมีอาชีพออกเงินกู้แสดงเหตุผลในการที่เขาเกลียดอันโตนิโอ เนื่องจากมีทัศนคติไม่ดีต่อตน และแข่งขันกันในทางการค้าด้วย ไชล็อกได้แสดงทัศนคติต่อการแก้แค้นเช่นนั้น ข้าพเจ้าเป็นยิว ทั้งการมองและความคิดก้เป้นยิวมิใช่หรือ มือไม้แขนขา ความรุ้สึกรักไคร่เกลียดชัง ทุกอณูในร่างกายของข้าพเจ้าล้วนเป้นยิวไม่ใช่หรือ หากท่านใช้อาวุธทิ่มแทงกายเรา โลหิตจะไม่ไหลออกมาเป้นสีแดงหรือ หากท่านยั่วเย้าล้อเลียนเรา เราจะไม่หัวเราะออกมาหรือ หากท่านให้เราดื่มยาพิษ เราจะไม่ตายหรือ และหากท่านทำผิดสัญญาต่อเรา เราจะไม่ทำการแก้แค้นหรือ ถ้าหากเราไม่ได้มีความแตกต่างจากพวกท่าน เราก้ยังมีความรู้สึกเหมือนพวกท่านเช่นกัน.
เนื้อเรื่อง
อันโตนิโอได้ไปขอยืมเงินจากไชล็อกมาให้บาสซานิโอ เพื่อให้เขาได้แต่งงานกับนางปอร์เตีย ไชล็อกตกลงให้ยืมเงินโดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าหากไม่ชำระหนี้สิน ด้วยการยินยอมให้ไชล็อกเฉือนเนื้อสดๆของตนออกไป 1 ปอนด์ ต่อมาปรากฏว่าอันโตนิโอไม่สามารถนำเงินมาชำระได้ ไชล็อกจะนำเขามาขึ้นศาลเพื่อให้ชดใช้หนี้ตามสัญญานางปอร์เตียได้ปลอมตัวเป้นผู้ชายในฐานะทนายความ เธอได้ชี้ให้เห้นช่องโหว่ของกฎหมายว่า มนุษย์ทุกคนอาจจะกระทำผิดพลาดได้ จนในที่สุดอันโตนิโอได้รับประโยชน์จากการแถลงต่อศาล





King Lear (KING LEAR).Semi-comic, semi-tragic drama of the famous story of Shakespeare. It had also provided an opinion...
Posted by Thong D. & Patume on Tuesday, November 3, 2015